เมนู

5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า
ปฐมฌานกริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ทุติยฌาน เป็นไฉน ?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล
ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก
วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอัน
เกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต
มีในสมัยนั้นนี้เรียกว่า ทุติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ตติยฌาน เป็นไฉน ?
ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
จตุตถฌาน เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

กิริยาฌาน ปัญจกนัย


ปฐมฌาน

เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฐมฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน. .
ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ตติยฌาน เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
จตุตถฌาน เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกร่า จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ปัญจมฌาน เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่
อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุปัญจมฌานที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัย
ใด ฌานมีองค์ 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า
ปัญจมฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่
อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญ-
จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด
ฌานมีองค์ 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า
จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
อภิธรรมภาชนีย์จบ

ปัญหาปุจฉกะ


[737] ฌาน 4 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่.
2. บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส
เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่.
3. เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมป-
ชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
ดังนี้ อยู่.
8. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่.

ติกมาติกาปุจฉา-ทุกมาติกาปุจฉา


บรรดาฌาน 4 ฌานไหนเป็นกุศล ฌานไหนเป็นอกุศล ฌานไหน
เป็นอัพยากตะ ฯลฯ ฌานไหนเป็นสรณะ ฌานไหนเป็นอรณะ ?

ติกมาติกาวิสัชนา


[738] ฌาน 4 เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
ฌาน 3 เว้นสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุเวทนาสัมปยุต
จตุตถฌาน เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอทุกขมสุขเวทนา-
สัมปยุต.